รับและส่งข้อมูลผ่าน Console

เรื่องแรกที่เราจะเรียนเป็นสี่งแรกในการเรียนการเขียนโปรแกรม นั่นก็คือเรื่องการ Input และ Output ของโปรแกรม
Input และ Output เป็นเรื่องสำคัญต่อการทำโปรแกรม เพราะหากว่าเราไม่มี น้องจะรู้หรือเปล่า ว่าโปรแกรมมันทำงานได้ถูกต้องแล้วหรือไม่
ดังนั้น ทุกโปรแกรมจึงควรมีทั้ง Input และ Output เสมอ

แต่ก่อนที่จะให้น้องๆไปแตะเรื่อง input และ output ก็ต้องสอนน้องๆประกาศตัวแปรกันก่อน

การรับ Input

Input หมายถึงสิ่งที่ได้รับเข้ามา ในที่นี้คือโปรแกรมนั้นจะรับค่าอะไรมาซักอย่าง เพื่อที่จะให้นำไปใช้ในโปรแกรมของจริง
โดยในภาษา Python นั้นจะใช้ฟังก์ชัน input() เพื่อทำการรับ input เข้ามาสู่ระบบ

TIP

การใช้ input() นั้น ทำให้ข้อมูลที่ได้รับเข้ามา จะถูกเปลี่ยนไปเป็นประเภท string ทั้งหมด เพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลผิดประเภทนั่นเอง
ถ้าหากต้องการเปลี่ยนประเภทของ input เป็นอย่างต่างๆ (เช่น float, boolean, integer)
ก็จำเป็นที่จะต้องทำการ Data type Casting โดยจะสอนวิธีการเปลี่ยนประเภทตัวแปรในขั้นตอนต่อๆไป

ตัวอย่างการรับ input ในภาษา Python

input()

แต่รับมาแล้ว ใครจะจำค่าที่ได้รับ input มาหล่ะ
ดังนั้นจึงต้องมีตัวแปรมาจัดเก็บข้อมูลครับ

ตัวอย่างเช่น

kumamon = input()

โดยในโค้ดด้านบนนั้น ตัวแปร kumamon ก็จะมีค่าที่ได้รับมาจากฟังก์ชั่น input() อยู่

TIP

การรับ input นั้น จะรับค่าตั้งแต่ตัวอักษรแรก จนสุดบรรทัด นั่นหมายความว่า หากมีการให้ input มาหลายบรรทัด เช่น

My
name
is
Kumamon

ก็จะรับ input มาเพียงบรรทัดแรกเท่านั้น (นั่นก็คือ "My" เท่านั้น)

การส่ง Output

Output นั้นหมายถึงการเอาอะไรออกไป
โดยปกติแล้ว การส่ง output นั้น ก็จะมี 2 ประเภทหลักๆ นั่นคือ

  1. แสดง output ออกบนหน้าจอ
  2. โยน output ไปยังฟังกชันอื่น (เป็นการคืนผลลัพท์ (return) หรือเพื่อไปเป็น input ของอีกฟังก์ชั่นนึง)

ใน lecture นี้ พี่มงจะสอนเพียงการแสดง output ออกบนหน้าจอเท่านั้น
หากว่าน้องต้องการศึกษา output ประเภทโยนให้ฟังก์ชันอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ lecture ถัดไป (เรื่อง Functions)

วิธีการแสดง output

สามารถใช้ฟังก์ชัน print() เพื่อให้แสดงผลลัพท์บนหน้าจอผลลัพท์

ตัวอย่างการใช้ print()

print("Hello, my name is Kumamon")

หากเอาโปรแกรมไปรันแล้ว น้องๆก็จะเห็น string ที่เขียนว่า "Hello, my name is Kumamon" บนหน้าจอ shell ของ Python

การแสดง output นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น string (แบบตัวอย่างด้านบน) เสมอไป
น้องสามารถให้โปรแกรมแสดงค่าข้อมูลที่อยู่ภายในตัวแปรก็ได้

ตัวอย่างเช่น

player1 = "Kumamon"
print(player1)

ในโค้ดด้านบนนั้น บ่งบอกถึงการเก็บ string ที่เขียนว่า "Kumamon" ลงบนตัวแปร player1 และก็ได้ทำการ print() ตัวแปรนั้นออกมาเพื่อแสดงบนหน้าจอ